เมนู

ธรรมวิปปยุตด้วยนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรม
เหล่านั้น เสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมสัมปยุต ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.
[760] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม
อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจาก
นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.
ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็น
ไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.
นีวรณโคจฉกะ จบ

ปรามาสโคจฉกะ


[761] ธรรมเป็นปรามาสะ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิปรามาสะ.
ทิฏฐิปรามาสะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่า
โลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็น
อื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่
มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์

ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไป
ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้ง
มั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความ
พินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิปรามาสะ.
มิจฉาทิฏฐิ แม้ทุกอย่าง จัดเป็นทิฏฐิปรามาสะ.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปรามาสะ.
ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน ?
เว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต-
ธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนา
ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นปรามาสะ.
[762] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่ง
เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
[763] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ.

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ.
[764] ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของปรามาสะ
เป็นไฉน ?
ปรามาสะนั้นนั่นแล ชื่อว่าธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของ
ปรามาสะ.
ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็น
ไฉน ?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของปรามาสะโดยปรามาสธรรมเหล่านั้น
เว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ
ปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ.
[765] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรา-
มาสะ
เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม-
วิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ


[766] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.
ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน ?
รูปทั้งหมด แต่อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มี
อารมณ์.
[767] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน ?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
[768] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เป็นเจตสิก.